คู่มือการจ่ายเงิน
ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
1. เหตุผลความจำเป็นการช่วยเหลือครัวเรือนละ 5,000 บาท
เนื่องมาจากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดทางภาคเหนือได้ก่อให้เกิดปริมาณน้ำ
ก้อนใหญ่ไหลบ่าเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพมหานครและแผ่ขยายไปตามพื้นที่เขตต่าง ๆ
ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยฯ กรุงเทพมหานคร พิจารณาแล้วเห็นว่า
สถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2554 จนถึงปัจจุบันเป็นเหตุให้เกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
และน้ำเหนือไหลบ่าเข้าในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร โดยเหตุภัยพิบัติในครั้งนี้เป็นสถานการณ์ค่อนข้างรุนแรง
มีปริมาณน้ำเหนือสะสมมาก ทำให้ประชาชนในพื้นเขตต่างๆ ของกรุงเทพมหานครได้รับผลกระทบและ
ทรัพย์สินได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก บ้านเรือนที่อยู่อาศัยประจำของราษฎรและทรัพย์สินได้รับความ
เสียหาย ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนผู้ประสบภัยและเป็นการบำบัดทุกข์บำรุงสุขในเบื้องต้น
จึงเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความช่วยเหลือครัวเรือนผู้ประสบภัยครัวเรือนละ 5,000 บาท
เงินช่วยเหลือจำนวนนี้จะเป็นเงินที่ผู้ประสบภัยนำมาใช้จ่ายในการดำรงชีวิตระหว่างที่กำลังฟื้นฟูสภาพความ
เสียหาย ยังไม่สามารถประกอบอาชีพเพื่อหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้
ความช่วยเหลือโดยเร็ว
2. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือ
2.1 หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยที่มีบ้านเรือนอยู่อาศัยประจำใน ๒ กรณี ดังนี้
2.1.1 น้ำท่วมถึงบ้านพักอาศัยโดยฉับพลันและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
2.1.2 บ้านพักอาศัยถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
คำอธิบาย หลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือให้ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยที่มีที่อยู่อาศัยประสบภัยจะต้องเป็น
ไปตามกรณี ดังนี้
กรณีตามข้อ 2.1.1 บ้านพักอาศัยจะต้อง
– ถูกน้ำท่วมถึงบ้านโดยฉับพลัน
– ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และ
– อยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ
กรณีตามข้อ 2.1.2 บ้านพักอาศัยจะต้อง
– ถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน
– ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และ
– อยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ
2.2 เงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยที่มีบ้านเรือนอยู่อาศัยประจำ
2.1.1 ทั้ง 2 กรณีต้องเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัยประจำในพื้นที่ประกาศภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินและมี
หนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่สำนักงานเขตออกให้เท่านั้น
2.2.2 กรณีที่มีผู้ประสบภัยซ้ำซ้อนทั้ง 2 กรณี ให้ได้รับความช่วยเหลือเพียงกรณีเดียว
ทั้งนี้การดำเนินการช่วยเหลือทุกขั้นตอนครั้งนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 14 วัน
3. ลักษณะครัวเรือนที่อยู่อาศัยที่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์
3.1 บ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้าน
3.2 บ้านเช่า ผู้เช่าเป็นผู้ได้รับเงินช่วยเหลือในกรณีบ้านพักอาศัย/บ้านเช่ามีหลายชั้นให้ได้รับเงินช่วยเหลือ
เฉพาะชั้นที่มีน้ำท่วมถึงเท่านั้น
คำอธิบาย ลักษณะที่อยู่อาศัยของครัวเรือนที่มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจะต้องเป็น
1. บ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้านและถูกน้ำท่วมถึง หรือ
2. เช่าบ้านอยู่อาศัยและอยู่อาศัยในชั้นที่ถูกน้ำท่วมถึง โดยบ้านเช่านั้นอาจจะแบ่งเช่าเป็นห้อง
หรือเช่าทั้งหลังมีทะเบียนบ้านหรือไม่มีทะเบียนบ้านก็ได้
4. หลักฐานการแสดงสิทธิขอรับการช่วยเหลือ
4.1 กรณีบ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้านให้เจ้าบ้านหรือผู้ได้รับมอบอำนาจขอหนังสือรับรองจาก
สำนักงานเขตเพื่อเป็นหลักฐานการใช้สิทธิ
4.2 กรณีบ้านเช่าให้ใช้สัญญาเช่าหรือหนังสือรับรองจากเจ้าของบ้านเพื่อขอหนังสือรับรองจาก
สำนักงานเขต
คำอธิบาย หลักฐานการแจ้งสิทธิ ได้แก่ หนังสือรับรองจากสำนักงานเขตโดยการรับรองการเช่าบ้านตามข้อ 4.2
ให้พิจารณาตามหลักฐานที่มีอยู่หรือตามข้อเท็จจริง โดยจัดทำเป็นหนังสือและมีผู้รับรองตามที่กำหนด
จัดเก็บไว้ที่สำนักงานเขตเพื่อเป็นหลักฐานพร้อมรับการตรวจสอบ
5. การตรวจสอบที่อยู่อาศัยที่ต้องตามหลักเกณฑ์ตามหลักวิทยาศาสตร์และตามหลักความเป็นจริง
ให้สำนักงานเขตแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างน้อย 5 คน ตรวจสอบคำร้องเพื่ออกหนังสือรับรองว่าเป็นผู้มี
สิทธิขอรับการช่วยเหลือจริงในพื้นที่ประสบอุทกภัยและเร่งรัดการจ่ายเงินให้เป็นไปอย่างรวดเร็วเป็นธรรมและทั่วถึง
ตลอดจนสร้างความเข้าใจในหลักเกณฑ์และแนวทางการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้กับผู้ปฏิบัติในระดับ
พื้นที่ได้อย่างถูกต้อง
คำอธิบาย ในการตรวจสอบผู้ประสบอุทกภัย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
(องค์การมหาชน-Gristda) ได้ถ่ายภาพและจัดทำรายละเอียดของพื้นที่ที่ประสบภัยไว้ เพื่อใช้เป็นข้อมูล
ส่วนหนึ่งที่นำมาตรวจสอบความถูกต้องและการตรวจสอบสภาพข้อเท็จจริงในพื้นที่ที่ขอรับความช่วยเหลือ
เพื่อนำมาประกอบหลักฐานการตรวจสอบต่อไป
6. ขั้นตอนการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6.1 ศปภ.กทม. จัดให้มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้อำนวยการเขตและผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ
แนวทางการดำเนินการ
6.2 ศปภ.กทม. ทำรายละเอียดเป็นคู่มือการปฏิบัติงานให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกพื้นที่เขต
6.3 ให้คณะกรรมการตามข้อ 5 สำรวจข้อมูลรายละเอียดของผู้ประสบภัยพิบัติ (อุทกภัย) ที่มีสิทธิ
ได้รับการช่วยเหลือตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อออกหนังสือรับรองของสำนักงานเขต
6.4 ให้สำ นักงานเขตจัดพิมพ์รายชื่อผู้มีสิทธิตามหนังสือรับรองที่สำ นักงานเขตออกให้ลงใน
แบบ ข.1 และ ข.2 และให้ผู้อำนวยการเขตลงนามรับรองในแบบฟอร์มข้อมูลก่อนนำส่งให้ศูนย์อำนวยการ
เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยฯ กรุงเทพมหานคร โดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลจะจัดทำ
รายละเอียดแบบฟอร์มและชี้แจงขั้นตอนการดำเนินการในภายหลัง
6.5 ศปภ.กทม. ตรวจสอบความถูกต้องแล้วนำเสนอต่อปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อลงนามรับรองว่าเป็น
ผู้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือตามมติ ครม. นำส่งถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมกับส่งข้อมูล
รายละเอียดจำนวนหลังคาเรือนที่ขอรับการช่วยเหลือทาง E-mail Address : bkk5000@hotmail.com
ทั้งนี้ ให้ ศปภ.กทม. ทยอยส่งข้อมูลและเอกสารตัวจริงส่งถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
โดยด่วนที่สุด โดยสำนักงานเขตต้องเก็บเอกสารหลักฐานต่างๆ ไว้เพื่อให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
ตรวจสอบต่อไป
6.6 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตรวจสอบข้อมูลรายชื่อที่ได้รับจากกรุงเทพมหานครแล้วส่งให้
ธนาคารออมสินเพื่อจ่ายเงินโดยด่วนที่สุด หลังจากที่ได้รับรายชื่อจากกรุงเทพมหานครและให้ธนาคารออมสิน
ดำเนินการจ่ายเงินให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
6.7 ในระหว่างที่มีการอนุมัติเพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือนั้น ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.)
จะมอบหมายให้คณะกรรมการอำ นวยการและกำ กับดูแลการจัดทำ ข้อมูลผู้ประสบภัยครัวเรือนละ
๕,๐๐๐ บาท ร่วมด้วยข้าราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงความถูกต้อง
ของการเสนอรายชื่อครัวเรือนและกระบวนการจ่ายเงินช่วยเหลือต่างๆ หากพบความผิดปกติประการใด
จะดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายต่อไป
7. การจ่ายเงินของธนาคารออมสิน
เมื่อมีการโอนเงินให้ธนาคารออมสินสาขาใดแล้ว ให้ ศปภ.กทม. ประสานงานและดำเนินการจัดทำ
แผนการจ่ายเงินแก่ผู้ประสบภัยในแต่ละเขตให้แล้วเสร็จโดยด่วนที่สุด หลังจากได้รับการโอนเงินขอให้
สำนักงานเขตประสานธนาคารออมสินกำหนดรายละเอียดการจ่ายเงินตามที่ กรุงเทพมหานครจะได้แจ้ง
แนวทางวิธีการจ่ายเงินให้ทราบต่อไป โดยผู้รับเงินจะต้องนำหลักฐานไปแสดง ดังนี้
7.1 หนังสือที่สำนักงานเขตออกให้
7.2 บัตรประจำตัวประชาชน
กรณีมารับด้วยตนเอง
– ให้นำบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่จ่ายเงิน และให้ลงลายมือชื่อรับเงิน
ต่อหน้าเจ้าหน้าที่และให้เจ้าหน้าที่จ่ายเงินลงลายมือชื่อผู้จ่ายเงิน
กรณีไม่สามารถมารับได้ด้วยตนเอง
– หนังสือมอบฉันทะ (ผู้รับมอบฉันทะสามารถรับมอบได้เพียงรายเดียวและครั้งเดียวเท่านั้น
ไม่สามารถมอบฉันทะต่อได้)
– บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของผู้มอบและผู้รับมอบฉันทะ
คำอธิบาย ในการจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัยที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ ให้ธนาคารออมสินดำเนินการตาม
แผนการจ่ายเงินที่กรุงเทพมหานครได้ประชุมหารือร่วมกับธนาคารออมสิน และให้ธนาคารออมสินจัดทำ
รายงานการจ่ายเงินที่ได้จ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือไปแล้วในแต่ละวันส่งให้กรมป้องกันและ
บรรเทาสาธารณภัย เพื่อรายงานต่อไป
8. แนวทางการปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานคร
8.1 เร่งรัดการสำรวจ ตรวจสอบ ส่งรายชื่อให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อตรวจสอบส่งให้
ธนาคารออมสิน โดยด่วนที่สุด โดยให้ทยอยส่งเป็นรายแขวงและเขตที่มีจำนวนครบถ้วนสมบูรณ์พร้อมที่จะ
จ่ายเงินได้
8.2 หลังจากส่งรายชื่อให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแล้ว กรุงเทพมหานครประชุมหารือร่วมกับ
ธนาคารออมสินและกองบัญชาการตำรวจนครบาล ในการกำหนดแผนการจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัยให้รวดเร็ว
ทั่วถึง โดยเน้นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนมากที่สุด
ดาวน์โหลดรายละเอียด : คู่มือการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย